รายการบล็อกของฉัน

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ทองร่วง !

     วันนี้ราคาทองลงมาเหลือ 1575 เหรียญ จากที่เคยขึ้นไปสูงสุด 1920 เหรียญ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ก็เกือบ 20% แล้ว มันจะตกต่อไปหรือไม่ ไม่มีใครรู้ แต่ตอนนี้ผมสังเกตุเห็นอะไรบางอย่าง คือ Commodity เกือบทุกชนิด ถูกเทขาย ราคาร่วงตามกันลงมาหมดเลย เมื่อคืน น้ำมันร่วงมาทีเดียว 5% นั่นแปลได้ว่า นักลงทุนส่วนใหญ่ขายสินทรัพย์ออก แล้วกลับมาถือเป็นเงินสด ทำให้ค่าเงินดอลล่าร์แข็งค่าขึ้นมาทันที ถ้าสังเกตุดีๆจะเห็นว่าทุกอย่างมันเป็น Cycle ของมัน มีขึ้น-มีลง ขึ้นแรง-ลงแรง เสมอ ถ้ามองภาพนี้ออกแล้วก็จะไม่ตกใจกลัว ในเมื่อมีขึ้นก็มีลง แล้วเราจะไปขายตอนมันลงทำไม ตอนมันลง ถ้าเรามีเงิน (เย็น) เราก็ควรซื้อเพิ่ม แต่เวลาที่เราควรจะขายคือ เวลาที่มันขึ้นแรงๆ แต่ทองนี่ดูยาก เพราะไม่มีดัชนีวัดความถูกแพง ดังนั้นวิธีที่เหมาะกับการลงทุนในทองคำมากที่สุด ผมคิดว่าคือ การทยอยเฉลี่ยซื้อตอนที่มันลง แต่ก็อีกแหละ ไม่รู้ว่าลงถึงขนาดไหนถึงจะซื้อ อันนี้ก็คงต้องแล้วแต่ความพอใจของแต่ละคน แต่มีหลักอยู่อย่างเดียวที่ขอยืมคำพูดมาจาก วอเรนต์ บัฟเฟต คือ 1. อย่ายอมขาดทุน 2. ให้กลับไปดูข้อที่ 1.  ผมว่านี่แหละหัวใจสำคัญของการลงทุน เวลาจะช่วยรักษาอาการบาดเจ็บจากการลงทุน ดังนั้น เงินใครยิ่งเย็นยิ่งได้เปรียบ

     วันนี้ผมจะยกตัวอย่างนักลงทุนในดวงใจผม ซึ่งผมภูมิใจมากที่สุด นั่นก็คือ คุณพ่อของผมเองครับ ^_^ คุณพ่อของผม ลงทุนในทองคำแท่งมานานมากแล้ว ตั้งแต่ยังไม่มีใครสนใจทองคำแท่งเลย คุณพ่อเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อน ไปซื้อทองทั้งร้านมีคนเดียวที่เข้าไปซื้อ จะซื้อเวลาไหนก็ได้ ไม่ต้องต่อคิว ไม่ต้องกังวลเรื่องราคา เพราะไม่มีการขึ้นๆลงๆ บางทีก็เป็นอาทิตย์กว่าจะปรับราคา แต่เด๋วนี้กลับกันมาก บางวันต้องรอคิวถึง 800 คิว แล้วราคาก็ขึ้นๆลงๆ วันนึงไม่รู้กี่รอบ ตั้งแต่เล่นมาคุณพ่อของผม ยังไม่เคยขาดทุนเลยแม้แต่บาทเดียว เพราะกลยุทธก็คือ Buy&Hold เท่านั้น ไม่เคยอ่านข่าว ไม่เค่ยอ่านบทวิเคราะห์ ไม่เคยกังวลว่าซื้อมาแล้วจะลงอีกเท่าไร คือไม่เคยสนใจอะไรเลย แค่รู้ว่าทองเป็นทุนสำรองของแต่ละประเทศ ฉะนั้นถ้าเราเก็บไปเรื่อยๆ ก็เหมือนทุนสำรองของบ้านเรา เหมือนกัน มันจะเพิ่มค่าไปเรื่อยๆ เพราะเงินมีค่าลดลงเรื่อยๆ เวลาทองลงหนักๆ ก็จะได้เวลาไปซื้อทอง แล้วพอว่างๆ ก็เอามาเปิดดูชมความแวววาวของทอง แค่นี้ก็ชื่นใจแล้ว

     ผมยอมรับว่าตอนแรกที่ผมเข้ามาเล่นหุ้น ผมไม่เคยสนใจวิธีนี้เลย เพราะกว่าจะได้กำไร มันใช้เวลานาน แล้ว กำไรก็ดูจะน้อย เอาง่ายๆว่า รวยช้า คือตอนนั้นกะเข้ามาเล่นแล้วรวยเลย สุดท้ายกลับเจ๊งไม่เ็ป็นท่า แต่ผมโชคดีมาก ที่มีคุณพ่อที่คอยแนะนำ และส่งเสริมให้ผมรู้จักการลงทุน โดยไม่ได้เสียดายเงิน ที่ผมทำเสียไปในตอนแรก การลงทุนครั้งใหม่ของผมนี้ ทำให้ผมเข้าใจการลงทุนที่แท้จริง และตอนนี้ เงินลงทุนของผมนั้น มันก็เริ่มทำงาน ออกดอกออกผลแล้ว ผลงานทั้งหมดนี้ต้องยกความดีความชอบ ให้คุณพ่อของผมทั้งหมดเลยครับ ^_^

ลองสังเกตุดูดีๆครับว่าถ้าเราลากเส้นเฉลี่ยออกไปยาวๆแล้ว Asset ทุกอย่างที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตมันมีแต่ขึ้นกับขึ้นครับ (ขออภัย กราฟอาจจะข้อมูลล้าหลังไป)



วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554

หุ้นกลับมาทะลุ 1000 จุดอีกครั้ง

     ครั้งนี้สำหรับผมแล้ว ผิดคาดไปมาก ตอนที่น้ำเริ่มเข้าท่วมนิคมอุตสาหกรรมใหม่ๆ ตอนนั้นผมคิดว่า ตลาดหุ้นต้องเกิด Panic Sell แน่นอน แต่โชคดีที่ผมยังไม่ได้ขายหุ้นตัวไหนออกไปเลย เพราะคิดว่าถ้าตลาดตกลงมา ผมจะเอาเงินที่เหลือทั้งหมด ซื้อหุ้นตัวเดิมต่อ และแล้ว ตลาดหุ้นก็ขึ้นมาเรื่อยๆ ครั้งนี้ผมคิดผิดเต็มๆ และมันก็สอนให้ผมรู้ว่า ตลาดหุ้นนี้ไม่มีอะไรแน่นอน 100% และ การขึ้น-ลง ของราคาหุ้นนั้น มันไม่เป็นไปตามเหตุผลเสมอไป และหลังจากนี้ผมไม่รู้ว่า ดัชนีจะทะลุขึ้นต่อไปได้เรื่อยๆรึเปล่า หน้าีที่ของผมก็คือ ถือหุ้นต่อไป ไปขายในจุดที่มันแพง ซึ่งจะมาถึงเมื่อไรก็ำไม่รู้เหมือนกัน

     แล้วสมมติว่าตอนราคาแพงมาถึง เราจะรู้ได้ไงหล่ะ ว่ามันแพงแล้ว เวลาหุ้นขึ้น หุ้นจะขึ้นได้ต้องมีกำไรมา Support หรือ อีกประเภทนึงก็ปล่อยข่าว เพื่อหวังปั่นราคาหุ้น (ประเภทหลังนี้ขึ้นไม่นาน ก็ร่วง) ฉะนั้นตราบใดที่กำไรแต่ละไตรมาสยังเพิ่มอยู่ มูลค่่าของหุ้นก็จะสูงขึ้น และหุ้นนั้นจะแพงก็ต่อเมื่อ ราคาหุ้น สูงกว่า มูลค่าหุ้น ง่ายๆเลย ยกตัวอย่าง สมมติซื้อหุ้นมาตัวนึง ตรวจสอบทางงบการเงิน และ อนาคตของบริษัทแล้วว่ามั่นคง ตอนซื้อ หุ้น A PE อยู่ที่ 10 เท่า ราคาอยู่ที่ 10 บาท หลังจากนั้น หุ้นขึ้นต่อไปเรื่อยๆ พร้อมกับกำไรที่โตขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็น ราคา 20 บาท แต่ PE 10 เท่าเหมือนเดิม อย่างนี้ก็แปลว่าหุ้นยังไม่แพง เมื่อเทียบกับพื้นฐาน แต่ในมุมกลับกัน ตอนซื้อ หุ้น B PE อยู่ที่ 10 เท่า ราคา 10 บาท เช่นกัน ถือต่อไปเรื่อยๆ หุ้นราคาลง เหลือ 9 บาท แต่ PE กลับพุ่งสูงเป็น 20 เท่า อย่างงี้คือหุ้นเริ่มแพง สำหรับผมแล้ว ผมจะวิเคราะห์ดู ว่าผลกระทบเกิดจากอะไร ที่ทำให้กำไรลดลง ถ้ามันเป็นปัญหาชั่วคราว ผมก็จะเอากำไรเฉลี่ยที่ผ่านมา 4-5 ปี หรือ กำไรต่ำสุดใน 5 ปีที่ผ่านมา มาคิด PE แล้วดูว่ามันถูกหรือแพง บางทีมันอาจเป็นโอกาสในการซื้อหุ้น B เพิ่มก็ได้  แต่ถ้ากำไรที่ลดลงนี่มาจากพื้นฐานของธุรกิจจริงๆ ที่่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร อันนี้ผมก็จะขายทันที ไม่รีรอ

     ตอนนี้ตลาดหุ้น PE เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 12 เท่า ผมก็ว่าไม่แพงนัก  แต่ก็ไม่ถูก ลองคิดผลตอบแทนต่อปีดูก็จะได้ 8.33% ต่อปี (คิดคร่าวๆนะครับ เอา 100/12 ) ตอนที่ตลาดเคยขึ้นไปสูงสุดที่ 1700 กว่าจุด PE อยู่ที่ 30 เท่า ซึ่งพอคิดเป็นผลตอบแทนแล้วเหลือ 3.33 % ต่อปีเอง หรือตอนที่ตลาดตกถึง 200 จุด PE ลงมาเหลือ 4 เท่า คิดเป็นผลตอบแทน 25% ต่อปี น่าเหลือเชื่อมั๊ยหล่ะครับ ว่า Greed&Fear ของมนุษย์นั้นสามารถทำเรื่องแบบนี้ได้ด้วย เวลาขึ้นก็โลภ ทำให้ราคาหุ้นขึ้นไปเรื่อยๆ จน 3.33% ก็เอา แต่เวลากลัว 25% ยังไม่เอาเลย รู้อย่างงี้แล้ว เราจะโลภ หรือ จะกลัวดีครับ คำตอบคือ โลภ เมื่อคนอื่นกลัว และกลัว เมื่อคนอื่น โลภ Credit By Warren Buffet ครับ ^_^

อันนี้คือผลงานของ Greed&Fear



ผมหวังว่าบทความนี้จะช่วยเตือนใจเพื่อนนักลงทุนได้นะครับ การลงทุนมันไม่ง่าย แต่มันก็ไม่ได้ยากถ้าเราเข้าใจ ความผันผวนนั้นเป็นธรรมชาติของตลาดหุ้น 

ขอให้โชคดีกับการลงทุนครับ